เวลาเข้างานแบบยืดหยุ่น flextime

Flextime หรือเวลาเข้างานแบบยืดหยุ่นก็กลายมาเป็นเทรนด์ที่หลายบริษัทในปัจจุบันให้ความสำคัญกันมาก สาเหตุก็เพราะ flextime เองเป็นตัวช่วยสำคัญในเรื่องของการโปรโมท work-life balance ให้กับองค์กร จัดการชีวิตและงานให้สมดุล ทำให้พนักงานแฮปปี้กับการทำงานมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย คนทำงานในยุคสมัยใหม่จึงมักจะชอบบริษัทที่สามารถมี offer ในด้านเวลาเข้าออกงานแบบยืดหยุ่นให้กับพนักงาน แทนที่จะเป็นเวลาเข้างานแบบ 8 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น ที่เราต่างรู้ๆกันดีว่าในชั่วโมงเร่งด่วนในกรุงเทพเป็นอย่างไร

แล้วอะไรคือ Flextime ล่ะ?

Flexible working hours หรือที่เราเรียกกันว่า flextime เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของสวัสดิการที่ทางพนักงานได้รับ โดยแทนที่จะต้องเข้างานแบบฟิคเวลาเข้าออกงาน ก็อนุญาตให้เข้างานแบบเหลื่อมเวลาทำงานได้ และสำหรับนโยบายการเข้าออกงานแบบ flextime นั้นก็ขึ้นอยู่กับบริษัทว่าต้องการให้พนักงานเข้าออกงานในรูปแบบไหนๆ หลักๆที่องค์กรใช้กันก็จะมีประมาณตามตัวอย่างด้านล่าง

  • ให้พนักงานแต่ละคนเลือกเวลาเข้าออกงานของตัวเองในแต่ละวัน เช่น วันจันทร์ถึงพุธเป็น 9 โมงเช้าถึง  6 โมงเย็น และพฤหัสศุกร์เป็น 10 โมงเช้าถึง 1 ทุ่ม
  • มีการวางตารางเข้าออกงานไว้เป็น core หลัก แต่อนุญาตให้ flex ได้โดยกำหนดระยะเวลา อาจจะเป็น 1 ชั่วโมง และเวลาออกงานก็บวกเข้าไปจนครบชั่วโมงการทำงาน
  • หรือบางที่อาจจะอะลุ่มอล่วยให้มากๆเลยโดยการนับแค่เวลาทำงานให้ครบตามชั่วโมงที่กำหนด และเวลาเข้างานแล้วแต่ความสะดวก

แต่จะเห็นได้ว่าไม่ว่าบริษัทคุณจะมีการให้ทำงาน flextime ในรูปแบบไหนก็ตาม เวลาเข้าออกงานหลักก็เป็นสิ่งที่จำเป็นที่ยังต้องกำหนดไว้ เช่นห้ามเข้างานก่อนเวลา 6 โมงเช้า และเข้าหลังเวลา 11 โมง ทั้งนี้เพื่อให้การประชุมหรือการประสานงานต่างๆราบรื่นที่สุดแม้ว่าจะมีการเข้าออกงานในเวลาที่แตกต่างกันนั่นเอง

ประโยชน์ที่ได้จากการมี flextime

นอกจากประโยชน์ที่ flex time มีให้กับพนักงานของบริษัทโดยตรงแล้ว ยังส่งผลดีต่อองค์กรอีกด้วย สาเหตุหลักๆก็มีจาก work-life balance ที่ดีขึ้น

ช่วยเรื่องการหา talent และลดอัตราการลาออกพนักงาน

ในปัจจุบันนี้องค์กรที่ไม่มีการให้เวลาเข้าออกงานแบบยืดหยุ่นก็มีโอกาสที่จะหาคนได้ลำบากมากขึ้น เนื่องมาจากองค์กรก็เริ่มปรับตัวไปในทิศทางนี้กันมาก พนักงานเองเมื่อมองหาที่ทำงานใหม่สิ่งที่พวกเขามองไม่ใช่มีเพียงแค่ในเรื่องของเงินเดือนที่ได้รับว่าเป็นอย่างไร แต่ผู้คนให้ความสำคัญมากขึ้นกับ work-life balance และ flextime ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญมากๆที่ช่วยส่งเสริมในเรื่อง work-life balance ซึ่งสำหรับคนเก่งที่มีองค์กรต้องการกันมากมายแล้วนั้นถ้าเปรียบเทียบระหว่างองค์กรที่ให้เข้างานได้แบบ flextime แน่นอนว่าส่วนใหญ่จะเลือกแบบแทบไม่ลังเลเลย

พนักงานมีความสุขมากขึ้น ทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สืบเนื่องจากการมี work-life balance ที่มากขึ้น ก็ส่งผลให้คนทำงานมีความสุขในการทำงานมากขึ้น เพราะไม่ต้องเครียดกับเรื่องอื่นๆ เช่นการเดินทาง อย่างในกรุงเทพเราเองชั่วโมงเร่งด่วนที่เกิดจากเวลาเข้าออกงานแบบมาตรฐานก็ทำให้รถติดมากๆ และคนที่ไม่สามารถเข้างานแบบ flextime ได้แล้วก็ต้องเครียดตั้งแต่เริ่มวันเลยทีเดียว เมื่อถึงเวลาเลิกงานก็ต้องผจญกับเรื่องเดิมๆ แต่เมื่อมี flextime พนักงานก็สามารถแพลนเวลาทำงานที่ดีที่สุดให้กับตนเองได้ ทำให้ความเครียดและความอ่อนล้าสะสมลดลงไป งานก็มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น

การลางานของพนักงานลดลง

ในข้อนี้อาจจะดูงงๆ คุณผู้อ่านอาจจะกำลังคิดอยู่ในใจว่าแต่เราก็มีวันลาให้พนักงานอยู่แล้วหนิ อันที่จริงเมื่อมี flextime จะช่วยในสถานการณ์ที่พนักงานต้องลางานเมื่อต้องเจอกับเหตุการณ์ที่เลี่ยงไม่ได้นั่นเอง และทำให้การลางานแบบไม่ได้วางแผนลดลงไปนั่นเอง

Downside เมื่อมี flextime คืออะไร?

เมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อด้อยตามมาสำหรับการที่มี flextime ข้อเสียที่อาจจะเกิดขึ้นได้คือหากทางบริษัทไม่ได้มีการให้เข้าออกงานได้แบบยืดหยุ่นทุกคน อาจทำให้คนที่ไม่ได้สวัสดิการในส่วนนี้รู้สึกแย่ได้ และกำลังใจในการทำงานลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ได้รับ และจะเกิดความรู้สึกแง่ลบค่อนข้างมากกับบริษัท และอีกปัจจัยหนึ่งนอกจากนี้คือในเรื่องของเวลาการทำงานที่แตกต่างกันไปแต่ละคน อาจทำให้การประชุม การติดต่อประสานงาน ไม่ราบรื่นเท่าที่ควรได้ ดังนั้นแล้วเมื่อมีนโยบายนี้อาจจะต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนรอบด้านในทั้ง 2 ปัจจัยที่กล่าวมา

แนวทางการทำ flextime ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

1.เลือกนโยบายในการให้เวลาเข้าออกงานแบบยืดหยุ่น ว่าจะมีการกำหนดเวลาอย่างไรบ้าง ให้ใครได้รับสิทธิ์บ้าง คนที่ยังไม่ผ่านโปรได้ด้วยไหม

2.กำหนดกฎเกณฑ์ที่อาจส่งผลต่อการทำงานให้เรียบร้อย เช่นหากวันไหนเป็นวันประชุม เหตุการณ์พิเศษ จะต้องเข้างานกันอย่างไร

3.บอกให้คนในทีมรู้ถึงความคาดหวัง แม้ว่าจะมีเวลาเข้างานที่แตกต่างกัน บอกให้พนักงานรับทราบถึงชั่วโมงการทำงาน ความรับผิดชอบอื่นๆ

4.หาซอฟต์แวร์มาช่วยจัดการ เมื่อมีการเข้าออกงานแบบยืดหยุ่นแล้ว ย่อมส่งผลต่อ HR ในการ track เวลาทำงาน ดังนั้นลองมองหาโปรแกรม HRM เข้ามาช่วยก็จะช่วยเบาภาระของฝ่ายบุคคลไปได้เยอะมากๆ

ติดตามเกร็ดความรู้ดีๆ เกี่ยวกับ HR และการพัฒนาองค์กรได้ที่
Blog:     www.myempeo.com/blog 
Facebook:    www.facebook.com/myempeo
Youtube:   www.youtube.com/empeo


Tags

flex hour, flexitime, flextime, เวลาเข้างานแบบยืดหยุ่น


You may also like

>