employee engagement

Employee engagement กลายมาเป็นศัพท์ที่ใช้กันมากในโลกธุรกิจทุกวันนี้ โดยเฉพาะ HR เองซึ่งได้ประโยชน์ต่างๆมากมายเมื่อพนักงานรู้สึกผูกพันกับองค์กรไม่ว่าจะเป็นเรื่อง productivity อัตราการลาออกพนักงาน และยังส่งผลต่อชื่อเสียงของบริษัทอีกด้วย ปัญหาสำคัญคือถึงแม้ว่าองค์กรต่างๆจะพยายามให้พนักงานมีส่วนร่วมกับองค์กรมากขึ้น มันก็ยังเป็นการยากอยู่ดีที่จะรู้ว่าจะเพิ่ม employee engagement ให้ดีที่สุดจะทำได้อย่างไร แต่ท้ายที่สุดแล้วกลยุทธ์นี้ก็ยังเป็นหนึ่งในสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรเติบโตและประสบความสำเร็จได้

แล้ว   Employee engagement คืออะไร?

จริงๆแล้วคำนิยามของ employee engagement อาจจะมีอยู่มากมายแต่ทุกคนคงเห็นตรงกันว่า การมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กรน่าจะเป็นตัวเลือกที่ตรงที่สุด ซึ่งนั่นจะส่งผลต่อความผูกพัน ความรู้สึกเป็นส่วนนึงขององค์กรอีกด้วย สุดท้ายส่งผลให้เกิดความภักดีกับองค์กรที่ทำงานอยู่นั่นเอง และนั่นจึงเป็นสาเหตุสำคัญว่าทำไม  HR ในปัจจุบันจึงมุ่งเน้นในเรื่องนี้มากๆ บริษัท Gallup ในอเมริกาได้ทำการแบ่งพนักงานออกเป็น 3 กลุ่มหลักด้วยกันตามนี้

  • กลุ่มที่ผูกพันกับองค์กร: พนักงานในกลุ่มนี้จะมีความผูกพันกับองค์กรที่ตนเองทำงานอยู่ มีความกระตือรืนร้นและอยากทำงานออกมาให้ดีที่สุด รู้สึกเป็นส่วนนึงกับองค์กรของตน
  • กลุ่มที่ไม่ผูกพัน: ในกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่มักจะไม่แอคทีพสักเท่าไร ทำงานเพียงแค่พอผ่านมาตรฐานและมีความผูกพันกับองค์กรที่ทำงานอยู่น้อยถึงน้อยมาก
  • กลุ่มที่เกลียดองค์กร: คนกลุ่มนี้เรียกได้ว่าเป็นมลภาวะในการทำงานอย่างแท้จริง เพราะนอกจากพวกเขาจะไม่ชอบงานที่ทำ ไม่ชอบหัวหน้างาน ไม่ชอบองค์กร ไม่ผูกพันใดๆเลย แล้วยังคงทำให้บรรยากาศในการทำงานอยู่ในแง่ลบมากๆอีกด้วย

ความท้าทายในการทำ  employee engagement

มาถึงตรงนี้คุณอาจจะเกิดคำถามว่าแล้วทำไมการทำให้พนักงานผูกพันเป็นงานที่ยากมาก ความท้าทายในการทำให้พนักงานมีส่วนร่วมในองค์กรมากขึ้นนั้น หลายๆครั้งไม่ได้มาจากปัจจัยที่ตัวพนักงานอย่างเดียว แต่เกิดจากหลายๆส่วนประกอบกัน การที่พนักงานคนนึงจะผูกพันกับองค์กรไม่ได้ขึ้นกับปัจจัยค่าตอบแทนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีทั้งในเรื่องของหัวหน้างาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน แม้กระทั่งเรื่องของตัวเนื้องานและเรื่องอื่นๆล้วนส่งผลต่อความผูกพันของพนักงาน การที่จะทำให้ความสำเร็จในเรื่องนี้เกิดขึ้นได้จึงต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจจากทั้งฝ่ายบริหาร HR และพนักงาน และด้วยความที่การมีส่วนร่วมของพนักงานในองค์กรไม่อาจทำให้เกิดได้ในวันเดียว จึงกลายเป็น task ที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตการทำงาน และทั้งหมดนี้เองคือความท้าทายที่ทาง HR ต้องพบเจอ

จะเพิ่ม employee engagement ได้อย่างไร?

1.เพิ่มตั้งแต่ขั้นตอนการสรรหาบุคลากร

คุณอาจจะกำลังนึกงงอยู่ในใจว่าถ้าต้องการเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงานไม่ใช่ว่าต้องเป็นพนักงานก่อนถึงจะต้องทำได้เหรอ จริงๆแล้วสำหรับ HR สามารถที่จะเพิ่มในเรื่องนี้ได้ตั้งแต่ขั้นตอนการหาพนักงานเลย อยากให้ลองนึกในมุมกลับดูว่าในขั้นตอนการสมัครงานของพนักงานเองนั้น เมื่อพูดถึงการหางานใหม่ มักจะมีคำถามหลักๆที่เกิดขึ้นในใจ นอกเหนือไปจากเรื่องของค่าตอบแทน คือ เราจะทำงานที่นี่ได้ไหม? และเราอยากทำงานที่นี่ไหม? หากพนักงานรู้สึกว่าองค์กรเราเป็นคำตอบที่ใช่กับทั้ง 2 คำถามนี้แล้วล่ะก็ เป็นไปได้ว่าคนที่คุณรับเข้ามาก็มีแนวโน้มที่จะมี employee engagement มากกว่าคนที่เข้ามาทำงานเพราะต้องการเงินเพียงอย่างเดียว

ฝ่ายบุคคลเองก็สามารถจัดการให้ดีขึ้นได้ตั้งแต่ขั้นตอนของการลงประกาศสมัครงานที่ควรจะต้องเขียนรายละเอียดงานที่เราต้องการจริงๆสำหรับในตำแหน่งนั้นๆ ไม่ใช่การเขียนถึงคุณสมบัติที่ต้องการ ซึ่งหลายต่อครั้งย่อมส่งผลต่อความคาดหวังของผู้สมัคร รวมไปถึงผลตอบแทนที่ต้องการด้วย นอกจากนั้นแล้วเมื่อผู้สมัครรายนั้นๆได้เข้ามาร่วมงานแต่พบว่าเนื้องานไม่เป็นไปตามที่พูดคุยไว้ก็จะทำให้เกิดความผิดหวังและส่งผลต่อความอยากมีส่วนร่วมในเรื่องอื่นกับองค์กรได้อีกด้วย

2.พนักงานเริ่มงานใหม่

เชื่อหรือไม่ว่าการจัดการพนักงานใหม่ที่แย่จะทำให้พนักงานนั้นอาจมีความคิดที่อยากจะลาออกตั้งแต่เริ่มต้นเลยทีเดียว และถึงแม้ว่าเค้าเลือกที่จะอยู่ต่อแต่ก็อาจจะอยู่เพียงเพราะค่าตอบแทนเพียงอย่างเดียว ไม่ได้เกิดวามรู้สึกผูกพันอะไรกับองค์กรเท่าใดนัก และโดยมากแล้วโปรเซสของการจัดการพนักงานเริ่มงานใหม่ของทุกๆบริษัทมักจะเป็นอะไรที่ตายตัว จนหลายต่อหลายครั้งเราลืมมองย้อนกลบไปว่าการจัดการเราดีต่อพนักงานใหม่จริงหรือไม่?

HR นั้นสามารถทำให้วันแรกของพนักงานใหม่เป็นประสบการณ์ที่ดีและไม่เคยพบเจอจากที่อื่นมาได้ แทนที่จะต้องเป็นแค่การวิ่งไปนู่นมานี่เคลียร์เอกสารต่างๆ เริ่มตั้งแต่การวางแผนให้เรียบร้อยแล้วว่าอะไรที่พนักงานใหม่จำเป็นต้องรู้บ้างในวันแรก การสร้างความคุ้นเคยกับคนในทีมใหม่ นอกจากนี้การมอบหมายพี่เลี้ยงให้ก็จะช่วยให้พนักงานใหม่คุ้นเคยกับองค์กรได้ดียิ่งขึ้น การที่องค์กรเริ่มใส่ใจพนักงานตั้งแต่วันเริ่มต้นการทำงาน เป็นสัญญาณที่ดีสำหรับพนักงานที่กำลังมองหาบริษัทดีๆอยู่อย่างแน่นอน

3.ใส่ใจในการพัฒนาคนอย่างต่อเนื่อง

สิ่งสำคัญสำหรับคนทำงานทุกคนคือการเติบโตในการทำงาน เมื่อใดก็ตามที่พนักงานเริ่มรู้สึกว่านายจ้างของพวกเขาไม่ได้ใส่ใจในเรื่องการพัฒนาคนแล้วล่ะก็ พวกเขาจะเริ่มรู้สึกว่าอนาคตในองค์กรนั้นไม่น่าจะดีเท่าไร และถ้าหากเค้าไม่รู้สึกอะไรกับการอยู่แบบเดิมๆ คุณก็คงไม่อยากได้คนประเภทนี้มาอยู่ในองค์กรด้วยเช่นกัน HR ที่ต้องการเก็บคนประเภทแรกที่สร้างพลังบวกในที่ทำงาน พร้อมช่วยทำให้บริษัทเติบโตแล้วล่ะก็จึงควรที่จะให้ความใส่ใจในเรื่องของการพัฒนาคนและความเติบโตทางอาชีพของพวกเขาอย่างต่อเนื่อง

สำหรับในแง่มุมนี้ต้องอาศัยหัวหน้างานในการผลักดัน เริ่มจากการให้ความใส่ใจคนในทีมอย่างสม่ำเสมอ การเปิดรับฟังความคิดเห็นแบบ 1 ต่อ 1 ทุกเดือนก็จะช่วยให้พนักงานรู้สึกถึงความเอาใจใส่มากขึ้น และยังช่วยทำให้พนักงานนั้นเข้าใจถึงประสิทธิภาพการทำงานในช่วงที่ผ่านมาของตนเองอีกด้วย นอกจากนี้อย่าลืมให้ความสำคัญกับคุณค่าของงานที่พนักงานทำออกมาอยู่อย่างสม่ำเสมอ สิ่งต่างเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้นฝ่ายบริหารเองก็ต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาคนอย่างจริงจังด้วยเช่นกัน

อย่าลืมเริ่มต้นสร้าง employee engagement

จะเห็นได้ว่าการสร้างความมีส่วนรวมของพนักงานในที่ทำงานนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย ต้องอาศัยความมีส่วนร่วมของคนทุกฝ่ายและเรียกได้ว่าเกือบทุกขั้นตอนตั้งแต่ก่อนเริ่มเป็นพนักงานกันเลยทีเดียว แต่หากองค์กรของคุรใส่ใจในเรื่องนี้อย่างจริงจังแล้วล่ะก็ความสำเร็จจะอยู่ไม่ไกลอย่างแน่นอน

ติดตามเกร็ดความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับ HR และการพัฒนาองค์กรได้ที่
Blog:    www.empeo.com/blog 
Facebook:    www.facebook.com/myempeo
Youtube:   www.youtube.com/empeo


Tags

employee engagement


You may also like

>